ประเภทขนมไทย

ประเภทขนมไทย
ขนมไทยมี 13 ประเภท ได้แก่

T11.ขนมประเภทไข่

หมายถึงเป็นขนมไทยที่มีส่วนประกอบสำคัญคือไข่เป็นขนมที่ได้รับความนิยมกันมากเพราะขนมมีรูปลักษณ์สวยงาม ใช้ฝีมือและความประณีตในการทำเป็นขนมที่ขาดไม่ได้สำหรับงานมงคลต่างๆ เทคนิคที่สำคัญคือการเลือกไข่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำควรเลือกไข่ที่ใหม่เพราะขนมประเภทนี้ใช้ความข้นของไข่ในการคงรูปของขนม และยังคงความอ่อนนุ่ม เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ
T2
2.ขนมประเภทนึ่ง
หมายถึง การนึ่งเป็นกระบวนการที่ผ่านความร้อนจากไอน้ำโดยตรง ที่ได้จากการระเหยของการต้มน้ำให้เดือดอย่างต่อเนื่อง โดยที่วัตถุดิบที่ใช้ในการนึ่งจะถูกวางไว้ในอุปกรณ์ทีมี ฝาปิดมิดชิด เช่น ซึง หรือ หวด(สำหรับการนึ่งข้าวเหนียว) ที่ใช้เพื่อแยกจากการสัมผัสกับน้ำโดยตรง เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ

T33.ขนมประเภทต้ม

หมายถึง การนำขนมใส่หม้อ พร้อมกับน้ำหรือกะทิ ตั้งไฟให้เดือดจนสุกตามความต้องการ การทำขนมที่ต้องต้ม และเป็นขนมที่ใช้ใบตองห่อ ต้องห่อให้สนิท ใบตองต้องไม่แตก เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ
T4

4.ขนมประเภทกวน

หมายถึง การที่ทำให้ขนมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมากของเหลวผสม หรือ รวมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันจนข้นและเหนียวโดยใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งคนไปจนทั่วโดยแรงและเร็ว เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ

T55.ขนมประเภทอบและผิง

หมายถึง ผิงและอบ ขนมที่ใช้ผิงมีหลายชนิด จะใช้ผิงด้วยไฟบน และไฟล่าง ไฟจะต้องมีลักษณะอ่อนเสมอกันปัจจุบันใช้เตาอบแทนการผิง เช่น ขนมหม้อแกง ขนมสาลี่กรอบ ขนมผิง ฯลฯ
T6

6.ขนมประเภททอด

หมายถึง การทำให้ขนมชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งต้องการให้สุกด้วยน้ำมัน โดยตักน้ำมันใส่กระทะให้ร้อนแล้วใส่ขนมนั้นลงไปพอเหลืองหรือสุก เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ

T77.ขนมประเภทเชื่อม

หมายถึงการเชื่อมส่วนใหญ่จะทำกับผลไม้ โดยการนำผลไม้ต้มในน้ำเชื่อม จนกระทั่งผลไม้มีลักษณะนุ่มและขึ้นเงาโดยระหว่างเชื่อมช่วงแรก น้ำเชื่อมจะใสแล้วจึงต้มต่อไปจน น้ำเชื่อมข้นแต่ต้องไม่เชื่อมให้น้ำเชื่อมข้นเกินไป เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ
T8

8.ขนมประเภทฉาบ

หมายถึงการนำน้ำ น้ำตาลทราย เกลือป่น ลงในกระทะทองตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวให้เดือดเป็นยางมะตูม จนน้ำตาลเหนียวใสแล้วนำวัตถุดิบที่เตรียมไว้ลงคลุกน้ำตาล ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น จนน้ำตาลทรายแห้ง เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ

T99.ขนมประเภทน้ำกะทิ

หมายถึงน้ำกะทิสำหรับใส่ขนมทำได้ 2 อย่าง คือ ใช้น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลปึก โดยใช้น้ำตาลทรายจะต้องเชื่อมน้ำตาลและกรองก่อน ส่วนน้ำกะทิโดยใช้น้ำตาลปี๊บ ไม่ต้องเชื่อมน้ำตาล แล้วน้ำกะทิผสมกับวัตถุดิบ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
T10

10.ขนมประเภทน้ำเชื่อม

หมายถึง ขนมน้ำเชื่อมส่วนใหญ่จะเป็นพวกผลไม้ (ผลไม้ลอยแก้วต่างๆ) ซึ่งจะใช้ผลไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำเชื่อม 2 ส่วน โดยการใส่น้ำตาลทำเป็นน้ำเชื่อมแล้วนำผลไม้มาต้มในน้ำเชื่อมโดยใช้ไฟอ่อนๆ เชื่อมจนผลไม้เหนียวหรือจนมีลักษณะนุ่มและขึ้นเงา เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ

T1111.ขนมประเภทบวด

หมายถึงการนำของหวานที่ใช้ผลไม้ เผือก มัน ฟักทอง เป็นต้น ต้มกับน้ำตาลและกะทิ เช่น กล้วยบวชชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
T12

12.ขนมประเภทแช่อิ่ม

หมายถึง การนำน้ำเชื่อม น้ำตาล 1 น้ำ ต้มเดือด แช่ผลไม้ไว้ แล้วนำไปตากแดด โดยใส่ตะแกรง ตากพอแห้ง อย่าให้แข็ง เก็บใส่ขวดปิดฝาให้แน่น เก็บไว้รับประทานได้ เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม ฯลฯ

T1313.ขนมประเภทปิ้ง

หมายถึง การทำอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งต้องการให้สุกโดยวางอาหาร นั้นเหนือไฟไม่สู้แรงนักจนผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ

Leave a reply

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

Free Web Hosting