ประวัติขนมไทย

e0b882e0b8ade0b887e0b894e0b8b5_e0b897e0b989e0b8b2e0b8a7e0b897e0b8ade0b887_a

 

“ท้าวทองกีบม้า” และมีชื่อเต็มว่า “มารี กีมาร์ เด ปนา”
คือผู้ประดิษฐ์คิดค้นขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้

                                           มารีกีมาร์แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเป็นที่โปรดปราน
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ตำแหน่งนี้ทำให้ฟอลคอนร่ำรวยท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรูหราแต่ฟอลคอลได้แอบ ติดต่อกับฝรั่งเศสเป็นการลับให้ยึดสยามเป็นอาณานิคม จึงถูกจับในข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์และถูกประหารชีวิต มารีต้องถูกคุมขังเป็นเวลานานถึง ๒ปี แต่หลังการปลดปล่อยเธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวัง ทำให้ท้าวทองกีบม้า ต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมจากตำรับ เดิม ของชาติต่างๆโดยเฉพาะโปรตุเกส ซึ่งเป็นชาติกำเนิดของเธอ ท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัตถุดิบพื้นถิ่นที่มีในประเทศสยามเข้ามาผสมผสานจนทำให้
เกิดขนมที่มีรสชาติอร่อยถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้นมีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวงเป็นหัวหน้า เก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวยซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องชื่นชมมีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆ ด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่และ มีเมตตาทำให้ท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดตำรับการปรุงขนมหวานแบบต่างๆ ให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาจนเกิดความชำนาญและสตรีเหล่านี้ก็ได้นำตำรับ
ขนมหวานไปเผยแพร่ต่ออีกทอดหนึ่ง จึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ในพระราชวังแผ่ขยายออกสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆในที่สุดก็กลายเป็นขนมพื้นบ้านของไทย
(ตำนานและประวัติความเป็นมาของขนมไทย.เว็บไซค์ : 2558)

T2.1.1สมัยสุโขทัย

ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ดังปรกฏข้อความในจดหมายเหตุฉบับ บางฉบับกล่าวถึง “ย่านป่าขนม” หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง “บ้านหม้อ”  ที่มีการปั้นหม้อและรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้นคงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตา และกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่องจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุค ทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้น   เครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่างๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ

T2.1.2สมัยรัตนโกสินทร์

จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่า ในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ

Leave a reply

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

Free Web Hosting